วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ3

คุณประจิตร ยศสุนทร อดีตเสรีไทยสายอังกฤษอีกคน เล่าใฟ้ฟังว่าไปทำหน้าที่ รับ-ส่งข่าววิทยุ ทำแผนที่ และเขียนใบปลิว ในสำนักงานของ Ministry of Information ของอังกฤษที่นิวเดลลี

"
กลางวันเราก็ไปนั่งประจำทำงานที่นั้น ตกตอนค่ำให้ไปมอนิเตอร์ข่าวจากเมืองไทย ในเขตโอลด์เดลลี แต่ที่อยู่เราอยู่ที่ นิวเดลลี ก็ต้องเดินทางไปหน่อย แล้วก็มีสถานีวิทยุนิวเดลลี ก็มีแผนกภาษาไทย หัวหน้าก็มี คุณ โพยม โรจนวิภาต ก็มีพวกเราเข้าไปช่วยทำข่าวตอนนั้น "
พลร่มจำเป็น
อีกส่วน หนึ่งถูกส่งไปเตรียมฝึกเพื่อเข้าไปปฏิบัติการในเมืองไทยเข้าค่ายที่เมืองปู นา ในอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกแห่งหนึ่งของกองกำลัง 136 ซึ่งเป็นรหัสของทหารอังกฤษที่ปฏิบัติงานในตะวันออกไกล
กลุ่มทหารเสรีไทย ได้รับการขนานนาม ว่ากลุ่มช้างเผือก ต่อมาในราวปลายปี พ.ศ. 2486 คนไทยกลุ่มหนึ่งโดนคัดเลือกให้ไปฝึกเป็นพลร่ม เพื่อเตรียมเข้าไปปฏิบัติการสอดแนมในเมืองไทย
นาย แพทย์ เปรม อยู่ในกลุ่มนั้นด้วย

นาย แพทย์เปรม บุรี อดีตเสรีไทยในอังกฤษ

"
เราถูกส่งมาที่จักกาล่า มาสอนกระโดดร่ม มี 6 คนด้วยกัน มีอาจารย์ ป๋วย ประทาน เปรมกมล และผม ชุดที่สองก็มี ธนา โปษยานนท์ สำราญ วรรณพฤษ์ แล้วก็รจิต บุรี เราฝึกกระโดดร่ม อยู่ประมาณ 4 ครั้ง ครั้งแรกรู้สึกปอดนิดหน่อย ครั้งที่สองก็ ... ยังปอด ... ปอดทุกวันน่ะ เพราะกลัวมันจะไม่กาง"
ปฏิบัติ งานสอดแนมในเมืองไทย
นายแพทย์เปรมเป็นเสรีไทย สายอังกฤษ ชุดแรก ที่โดดร่มเข้ามาปฏิบัติงานในเมืองไทยพร้อมกับ อาจารย์ป๋วย และนายประทาน ภายใต้ชื่อจัดตั้งว่า ดี เข้ม และ แดง ตามลำดับ
ทั้งหมดได้รับมอบหมายให้นำเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และสาสน์จากองบัญชาการทหารสัมพันธมิตรภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ถึงหัวหน้าขบวน การเสรีไทยในเมืองไทย

"
เราออกเดินทางจากกัล กัตตา มาลิบเบอเรเตอร์ ตั้งใจจะมาลงที่ด่านเจดีย์สามองค์ แต่ว่าตอนนั้น แอเรียล โฟโตกราฟ มันไม่มี เขาเห็นภูเขาสามลูก ก็นึกว่าเป็นด่านเจดีย์สามองค์ เราก็ลงมา
เผอิญ เป็นเคราะห์ดีมาก เพราะถ้าไปลงที่ด่านเจดีย์สามองค์จริงๆ มันติดกับชายแดนพม่า ทหารญี่ปุ่นเต็มไปหมด เราคงถูกจับมาแล้ว เผอิญเข้ามาในเมืองมาก ไปลงที่ ต. วังน้ำขาว อ. วัดสิงห์ จ. ชัยนาท"
เสรีไทยสายอังกฤษชุดนี้ โดดร่มถึงเมืองไทย ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2487 หรือ ปี ค.ศ. 1944 หลังจากที่เสรีไทยสายอเมริกาชุดแรก เดินเท้าถึงเมืองไทยได้ไม่นาน
แต่ว่าหลังจากนั้น ไม่นาน ทั้ง 3 นาย ถูกจับกุมส่งมาควบคุมที่กองตำรวจสันติบาลในกรุงเทพฯ
หลังจากนั้น กองกำลังของสัมพันธมิตร ได้พยายามส่งเสรีไทย เล็ดลอดเข้ามาเมืองไทย เพื่อวางเครือข่ายประสานงานกับกลุ่มในเมืองไทยอีกหลายชุด แต่ไม่สำเร็จ
จนกระทั่ง ช่วงปลายปี พ.ศ. 2487 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี ทำให้มีเสรีไทยในประเทศหลายคนเข้าไปอยู่ในคณะรัฐมนตรี การติดต่อระหว่างเสรีไทย ในประเทศ กับกลุ่มนอกประเทศ ทำได้สะดวกขึ้น
ประกอบกับตอนนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มได้เปรียบในสงคราม ทางการไทยตระหนักว่าถึงเวลาต้องปรับตัว ถ้าต้องการอยู่ข้างผู้ชนะ
สารคดีชุดเสรีไทยตอนที่ 4 ร่วมฟังประสบการณ์ของอดีตจารชนอังกฤษ ที่เข้าไปฝึกยุทธวิธีรบแบบดองโจรให้กลุ่มเสรีไทย ทางภาคอีสาน เตรียมหนุนกองกำลังสัมพันธมิตร ในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะยุติ

ขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ2

            ในตอน นั้น รัฐบาลไทย ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการแล้ว และอังกฤษก็ประกาศสงครามกับไทย เป็นการตอบโต้ รัฐบาลอังกฤษจัดเรือแลกเปลี่ยนเชลย เพื่อส่งคนไทยในอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นชนชาติศัตรูกลับบ้านไป
การก่อตัวของ เสรีไทยในอังกฤษ ไม่ได้รับการสนับสนุนเต็มที่ อย่างในสหรัฐอเมริกาเพราะรัฐบาลอังกฤษ ยังแคลงใจคนไทยอยู่มาก
คุณวิวรรธน์เล่าถึงสถานการณ์ให้ฟังว่า
ตอนนั้นอังกฤษเค้าก็ มองเราอย่างไม่ไว้ใจนัก เพราะว่าเราทำการที่คล้ายๆ กับหักหลังเขา
วิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร

"
ตอนนั้นอังกฤษเค้าก็ มองเราอย่างไม่ไว้ใจนัก เพราะว่าเราทำการที่คล้ายๆ กับหักหลังเขา คือ สัญญิงสัญญาว่าจะไม่ให้ข้าศึกมาเหยียบแผ่นดิน จะสู้จนหน้าที่สุดท้าย
แต่ ก็สู้ไม่กี่ชั่วโมง ก็ยอมแพ้
เราก็ต้องทำอะไรว่าคนไทยไม่ได้คิดอย่างนั้น ทั้งหมด
คนไทยที่มีใจจะสู้ก็มีอยู่ "
แต่ใน ที่สุด อังกฤษก็ยอมรับเสรีไทยในอังกฤษ 36 คน เข้ารับราชการเป็นพลทหารในกองทัพอังกฤษ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2485นายแพทย์เปรม บุรี อดีตเสรีไทยในอังกฤษอีกคนเล่าให้ฟังว่า ตอนแรกถูกส่งไปอยู่หน่วยทหารรับใช้ ที่เรียกว่า Pioneer Corps

"
เป็นทหารรับใช้ ให้ปอกมัน ล้างส้วม ล้างจานอะไร ต่างๆ แล้วก็ตระเวนไปอยู่หลายที่ทีเดียว "
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์บันทึกถึงบทกลอน ที่กลุ่มเสรีไทยในอังกฤษ แต่งบรรยายสภาพการฝึกทหารตอนนั้น ไว้ในบทความ ทหารชั่วคราว

อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ แกนนำคนหนึ่งของกลุ่มเสรีไทยในอังกฤษ


"
งานเฝ้ายามตามไฟได้ฝึกฝน
ตวาดคนหวั่นกลัวจนตัวสั่น
เวร กลางคืนปืนกับหอกออกประจัญ
เวรกลางวันถือสง่าคทาพลอง
บางเวลาพากันขุด มันเทศ
พลางร่ายเวทด่าฝรั่งกันดังก้อง
ขุดขนไป ด่าไปในทำนอง
พวก นายกองชอบใจเพราะไม่รู้ ..... "
รอนแรมไป อินเดีย
อยู่ในหน่วยทหารรับใช้ได้ซักพัก เสรีไทยสายทหารทั้ง 36 คนก็ถูกย้ายไปอยู่หน่วยที่มีการฝึกรบ อ่านแผนที่ เรียนรู้ยุทธวิธีรบแบบกองโจร จนในที่สุดได้รับคำสั่งให้ลงเรือไปอินเดีย

"
เราก็ถูกส่งไปที่ลิเวอร์พูลราวๆ ต้นปี 1943 มันมีภาพอันหนึ่งที่มันจับใจผมเหลือเกินคือทหารลงเรือ มันมีนักร้องผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อเกรซี่ฟีลด์ เป็นโซพราโน ประมาณกลางคน รูปร่างไม่สวยงาม แต่เสียงแกวิเศษเหลือเกิน แกร้องเพลง Wish Me Luck as You Wave Me Good Bye มันทำให้เราซาบซึ้งใจ"
หลัง จากรอนแรมบนเรือเกือบสองเดือน เสรีไทยสายอังฤษ ก็ถึงอินเดีย ส่วนหนึ่งถูกส่งไปทำงานฝ่ายสื่อสารที่กรุงนิวเดลี

ขบวนการเสรี ไทยในอังกฤษ


 

นาย มณีได้รับมอบหมายจาก หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้ากลุ่มเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา ให้เดินทางมาเป็นผู้นำจัดตั้งเสรีไทยในอังกฤษ ตามที่กลุ่มคนไทยในอังกฤษขอไป
เนื่องจากเอกอัครราชทูตไทยที่กรุงลอนดอน ขณะนั้นไม่ประสงค์จะขัดคำสั่งรัฐบาล เข้าร่วมกับขบวนการใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่น
นายมณี ประสานงานกับกลุ่มแกนนำในอังกฤษ เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมขบวนการเสรีไทย
คุณวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร บรรณาธิการ คนไทยคนแรกของ บีบีซีภาคภาษาไทย ร่วมก่อตั้งเสรีไทยในอังกฤษ ในตอนนั้นด้วย

คุณวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร บรรณาธิการ คนไทยคนแรกของ บีบีซีภาคภาษาไทย ร่วมก่อตั้งเสรีไทยในอังกฤษ

"
มีคนไทยมาสมัครเป็นเสรี ไทยอย่างเป็นทางการ ๕๐ กว่าคน
มีทั้งกลุ่มเจ้า นำโดย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่เจ็ด ซึ่งประทับอยู่ที่อังกฤษ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัฒน์ พระเชษฐา ผู้มีบทบาทสำคัญในการประสานงานกับทางการอังกฤษ เพราะทรงเป็นทหารในกองทัพอังกฤษด้วย
นอกจากนั้น ก็มีกลุ่มข้าราชการสถานทูต และกลุ่มนักเรียนไทยในอังกฤษหลายคนอังกฤษไม่ไว้ใจ

ขณะ นั้น ผมก็นึกว่าเป็นหน้าที่ ที่เราคนไทย ที่ยังหนุ่มแน่น แต่ผมไม่หนุ่มนะ ผมเกือบ 40 แล้ว ที่มีความจูงใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ด็อกเตอร์ ป๋วยเป็นหัวหน้า มีคนที่สนิทกับผม คือ เสนาะ ตันบุญยืน มาอังกฤษรุ่นเดียวกัน ปี 1937 พวกนี้ เขาเป็นหัวหน้ากลุ่ม ผมก็เลยไปสมทบกับเขา"

เสรีไทยในอเมริกา5

แผนที่ปฏิบัติงานของเสรีไทยสายอเมริกาเล็ดลอดเข้าไทย และบริเวณที่2วีรชนเสียสละพลีชีพ

-11
มิถุนายน 2487 ตำรวจเชียงแมนจับกุมการะเวกและสมพงษ์ข้อหาจารชนและยึดปืนพกไว้ ตามคำสั่งรัฐบาลต้องส่งทั้งสองไปที่กรุงเทพฯ แต่ตำรวจกลับควบคุมตัวเป็นเชลยลอยเรือไปกลางลำน้ำโขง เมื่อเวลาราว15.40น.ส.ต.ท.สมวงษ์ จันทศร และพลตำรวจถึง มูลพิชัย ได้ยิงปืนใส่ทั้งสอง และผู้นำทาง ร.อ.การะเวกกับผู้นำทางเสียชีวิตทันที
ส่วนร.ท.สมพงษ์ยังไม่ตายร้องครวญครางอยู่ และเนื่องจากได้แสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยการมอบอาวุธปืนให้ตำรวจไปแล้วก็ไม่ คิดว่าจะถูกยิง และคิดว่าไทยด้วยกันควรมีน้ำใจรักชาติปกป้องมาตุภูมิ ร.ท.สมพงษ์จึงพูดขึ้นว่า"ผมเป็นคนไทยแท้ๆผมมาทำงานเพื่อชาติ ไม่ควรยิงผมเลย"
แต่ตำรวจทั้งสองไม่ปรานีมุ่งค้นสมบัติที่เสรีไทยทั้งสองนำติดตัวมา และเมื่อได้ทองคำที่ทั้งสองได้รับจากO.S.S.มาใช้ในงานกู้ชาติก็โยนร.ท.สม พงษ์ลงน้ำโขงเพื่อให้ตาย แต่ความที่ร่างใหญ่แข็งแรงร.ท.สมพงษ์ได้ว่ายเข้ามาเกาะเรือไว้ พลตำรวจถึงเอาปืนจ้องคนพายเรือสั่งให้เอาไม้พายค้ำไปที่ตัวร.ท.สมพงษ์ให้จม น้ำตาย แต่เขาก็ดิ้นหลุดดำน้ำไปเกาะอยู่ที่แก่งหินกลางน้ำ คนพายเรือถูกสั่งใพยเรือตามไป แล้วพลตำรวจถึงยิงใส่ร.ท.สมพงษ์2-3นัด แล้วร่างของร.ท.สมพงษ์ก็จมหายไปท่ามกลางกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว

เรือลำนั้นกลับมาที่สถานีตำรวจเชียงแมนเวลา17.00น.แล้วอ้างว่าจารชนขัดขืน ต่อสู้แย่งชิงปืนตำรวจจึงถูกวิสามัญฆาตกรรม จากนั้นยึดปืน,กระสุนปืน,พันธบัตร,ทองคำ,เครื่องรับส่งวิทยุไว้ ศพของ"แครี่"การะเวกกับคนนำทางถูกทิ้งไว้หน้าสถานีตำรวจ จนเย็นวันรุ่งขึ้นจึงนำไปขุดฝังไว้หลังสถานี ส่วนศพของสมพงษ์ไม่มีผู้พบเห็นทำให้ญาติยังฝังใจมาจนทุกวันนี้ว่าเขายังไม่ ตายจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
แม้กระทั่งถึงทุกวันนี้ ญาติตระกูลศัลยพงษ์ทุกคน ยังหวังเต็มเปี่ยมว่า สมพงษ์ น่าจะยังไม่ตาย และอาจมีเหตุผลบางอย่างที่ปรากฏตัวไม่ได้ ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ เขาจะมีอายุ 93 ปี

-
เวลาไล่เลี่ยกันร.อ.โผนเดินทางตามหลังทั้งสองมา2สัปดาห์ และก่อนข้ามโขงได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของทั้งสองและแจ้งข่าวไปยังเสรีไทย สายอเมริกาในอีก1เดือนต่อมา ทำให้เสรีไทยในไทยทราบจึงแต่งตั้งข้าราชการทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายตำรวจมายัง ชายแดนเพื่อคอยช่วยเหลือเสรีไทยให้เล็ดลอดเข้าประเทศได้สำเร็จ

16
สิงหาคม 2488-ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ และหัวหน้าขวนการเสรีไทยประกาศสันติภาพ หลังญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม และไม่ถูกมหาอำนาจผู้ชนะแบ่งแยกเป็นไทยเหนือ-ไทยใต้

-30
ตุลาคม 2488 หลังสงครามยุติลงมีการรื้อฟื้นคดีสังหาร 2 เสรีไทย แต่ 2 ตำรวจมือสังหารโหดหลบหนีข้ามไปฝั่งลาว มีการขุดศพแครี่กลับสู่มาตุภูมิกรุงเทพฯ

-
ค่ำวันที่ 25 กันยายน 2488 ปรีดี พนมยงค์ "รูธ"หัวหน้าขบวนการเสรีไทย กล่าวปราศรัยก่อนสลายขบวนการเสรีไทยตอนหนึ่งว่า
"ขอให้ท่านได้สำนึกถึงวีรกรรมของเพื่อนร่วมตาย ซึ่งต้องเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้คือนายจำกัด พลางกูร ,นายการะเวก ศรีวิจารณ์ และนายสมพงศ์ ศัลยพงศ์ ชีวิตเขาสิ้นไปเพื่อได้มาซึ่งเอกราช และความคงอยู่ของชาติไทย ซึ่งชาวไทยไม่ควรลืม"


10
กุมภาพันธ์ 2497-รัฐบาลสหรัฐฯมอบเหรียญ"เมดัล ออฟ ฟรีดอม"ให้แก่เสรีไทยผู้เสียสละชีวิตทั้งสอง ถ้อยความตอนหนึ่งว่า
"วีรกรรม และการเสียสละอันใหญ่หลวงเป็นพิเศษของร้อยโทสมพงษ์นั้นย่อมปรากฎเป็น เกียรติคุณความดียิ่งแก่ตนเอง แก่ประเทศ และแก่สหรัฐอเมริกาด้วย"

เจือ ศัลยพงษ์ ผู้พี่ชายรับเหรียญกล้าหาญ"เมดัลออฟฟรีดอม"จากทูตวิลเลียม โดโนแวน 10 ปีหลังการเสียสละชีพเพื่อชาติของสมพงษ์
ท่วงท่าบุคคลิกของสมพงษ์-ร้อยเอกนิคอล สมิธ นายทหารอเมริกัน พี่เลี้ยงเสรีไทยชุดแรกที่ลักลอบเข้าปฏิบัติภารกิจลับในประเทศ บันทึกถึงเขาว่า "แซลมีน้ำหนักเกินกว่า70ก.ก.(160ปอนด์)ร่างใหญ่สมบูรณ์ด้วยกล้ามเนื้อ ใจเร็ว และฉุนเฉียวประเภทไม่กลัวใครหรือสิ่งใดทั้งนั้น ก่อนมาปฏิบัติงานเสรีไทยเขาเป็นนักเรียนแพทย์ที่สอบชิงทุนมาศึกษาวิชา เภสัชกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฟิลาเดเฟีย
ส่วนกำนันที่แจ้งตำรวจมาจับเสรีไทยทั้งสองพูดถึงสมพงษ์ว่า"พูดคล้ายกับคนลาว แต่พูดลาวไม่ชัด หน้าตาก็เหมือนคนไทย"
ความเป็นคนรูปร่างใหญ่น้ำหนักเกิน70ก.ก.ฉุนเฉียวไม่กลัวใครทั้ง สิ้น เขาจึงถูกจับคู่กับการะเวก ศรีวิจารณ์(แครี่)ซึ่งร่างเล็กหนักเพียง 55 ก.ก.เล็ดลอดเข้าประเทศไทย แต่ทั้งสองต้องเสียสละชีพเพื่อชาติในคราวนั้น

********
16
สิงหาคม2554-ครบ 66 ปีวันสันติภาพไทย-รำลึกวันสันติภาพ ไทยพ้นสถานะประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยขณะประกาศแถลงสันติภาพ
รำลึกถึงเหตุการณ์วันที่ 16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในขณะนั้น และเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ออกประกาศสันติภาพ สาระสำคัญคือประกาศว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐฯ และอังกฤษของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นโมฆะไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย ที่ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น และให้สถานะของประเทศกลับไปมีไมตรีอันดีกับ2ประเทศมหาอำนาจเหมือนก่อนประกาศ สงคราม และพร้อมจะร่วมมือทุกวิถีทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้
ด้วยคำประกาศสันติภาพดังกล่าว ทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับญี่ปุ่นและรอดพ้นการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม มีเอกราชโดยสมบูรณ์ สมควรที่ชาวไทยผู้รักชาติจะได้หวนรำลึกถึงบุญคุณของบรรพชนในคราวนั้น